Skip to content

รู้จักโรคมะเร็งผิวหนัง: ชนิด ปัจจัยเสี่ยง และการสังเกตตัวเอง

มะเร็งผิวหนัง อาการ คัน

ความรู้โรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังคือเนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุ เนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุ มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ที่พบบ่อย ได้แก่

  1. มะเร็งผิวหนังชนิดเบเซลเซลล์ (Basal cell carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่ร้ายแรงน้อย เพราะเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ
  2. มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) ลักษณะคล้ายกับมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา การลุกลามมักเร็วกว่ามะเร็งชนิด บาซอลเซลล์ คาร์ชิโนมา มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
  3. มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (malignant melanoma) เป็นมะเร็งจากเซลล์เม็ดสี เมลานิน พบไม่บ่อย แต่มีความร้ายแรง เพราะสามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว

มะเร็งผิวหนังอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้า ๆ และลุกลามเฉพาะที่ หรืออาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่นต่อมน้ำเหลือง ส่วนมากจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี (reference BPH 60 years) และพบในชายมากกว่าหญิง

อ่านบทความเพิ่มเติม มะเร็งผิวหนัง: สาเหตุ อาการและการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง

  1. แสงอัลตราไวโอเลต (UVA, UVB) ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
  2. เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
  4. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน
  5. ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา

อาการมะเร็งผิวหนังที่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

  1. ดูบริเวณไฝที่เป็นว่ามีผื่นหรือก้อนที่โตเร็วกว่าปกติ หรือมีสีที่เปลี่ยนไป ขอบไม่เรียบ แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
  2. มีแผลเรื้อรังที่ไม่หาย
  3. ผื่นเรื้อรัง

มะเร็งผิวหนัง อาการ

มะเร็งผิวหนังตรวจอย่างไร ?

การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการค้นพบตั้งแต่แรกเริ่ม โดยต้องสำรวจร่างตายตัวเองให้ทั่วซึ่งต้องใช้กระจกและมือช่วย ถ้ามีข้อสงสัย ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

การป้องกันโรคมะเร็งผิวหนัง

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดด และใช้ครีมกันแดด SPF > 15
  2. สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง หรือกางร่ม เมื่ออยู่กลางแดด
  3. ควรหมั่นป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยรุ่นเพื่อป้องกันในระยะยาว
  4. หลีกเลี่ยงภาวะระคายเคืองผิวหนัง
  5. หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากมีความผิดปกติ เช่น ไฝมีผื่นหรือก้อนโตเร็วกว่าปกติ สีเปลี่ยน มีแผลเรื้อรังที่ไม่หายและขยายออก หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

มะเร็งผิวหนังบำบัดรักษาอย่างไร ?

มะเร็งผิวหนังระยะเริ่มต้น ใช้วิธีการผ่าตัดก็สามารถหายขาดได้ แต่หากเป็นมะเร็งระยะกระจายหรือมะเร็งผิงวหนังเมลาโนมา หลังผ่าตัดอาจต้องมีการใช้การฉายแสงหรือเคมีบำบัดร่วมได้

ลักษณะที่ทำให้สงสัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง

  • รอยโรคที่เป็นอยู่เดิมมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ไฝที่เป็นอยู่เดิมมีลักษณะเปลี่ยนไป คือ ลักษณะของไฝสองข้างไม่เหมือนกัน, ขอบของไฝไม่เรียบ, สีของไฝไม่สม่ำเสมอ และไฝมีขนาดโตมากกว่า 6 มิลลิเมตร
  • รอยโรคมีอาการปวดหรือคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออก
  • มีรอยโรคเกิดขึ้นใหม่และไม่หายใน 4-6 สัปดาห์
  • เป็นแผลเรื้อรังไม่หายภายใน 4 สัปดาห์

การคัดกรองมะเร็งผิวหนังในระยะเริ่มต้นด้วยตัวเองเบื้องต้น

  1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เป็นก้อนนูนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขยายขนาดอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการปวดหรือไม่ปวดก็ได้
  2. มีก้อนที่ผิวหนัง และมีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกง่าย
  3. มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมีแผลใหม่ที่เกิดขึ้นบริเวณที่เป็นแผลเป็น หรือบริเวณแผลไฟไหม้มาก่อน
  4. สังเกตถึงรอยโรคสีดำหรือสีน้ำตาลที่ขอบเขต รอยอาจไม่ชัดเจนและมีแผลเกิดขึ้น
  5. ไฝมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง สีมีการเปลี่ยนแปลงเช่น มีสีขาวเกิดขึ้น หรือมีสีน้ำตาลดำไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น ไฝมีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกง่าย โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้าในคนเอเชีย
  6. ผื่นเรื้อรังมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา หากค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวหนังดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อวางแผนหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ตรวจ DNA มะเร็งผืวหนัง hbspt.cta.load(21386471, ‘e4bc6bc2-856c-4c0b-b6eb-e295a5739f0b’, {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง