Skip to content

แนวทางการรักษาภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับโดยการผ่าตัด

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจเนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ เกิดจากการอุดกั้นของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือ หลายส่วนรวมกันตั้งแต่บริเวณจมูก ช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ

การรักษาภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับนั้น มีแนวทางในการรักษามากมาย ทั้งการใช้ยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้อุปกรณ์ขยายทางเดินหายใจประเภทต่างๆ รวมถึงการผ่าตัด ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นคือการแก้ไขอวัยวะที่ผิดปกติและก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ทำงานให้ดีขึ้น เพื่อทั้งการรักษาและช่วยให้การใช้อุปกรณ์ขยายทางเดินหายใจ เช่น เครื่องอัดอากาศ [CPAP] ทำงานได้ดีขึ้น ฉะนั้นผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ควรจะตรวจร่างกายเพื่อประเมินทางเดินหายใจส่วนต้นในทุกราย เพื่อทำให้ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นจะแก้ไขโครงสร้างที่ผิดปกติของทางเดินหายใจ ตั้งแต่ระดับจมูกจนไปถึงลำคอ

การรักษาโดยการผ่าตัดจมูก ได้แก่

  1. การจี้จมูกเพื่อลดบวมโดยคลื่นวิทยุ [Radiofrequency] จะช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อในจมูกทำให้หายใจได้ดีขึ้น
  2. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะผนังกั้นจมูกคด [Septoplasty]
  3. การผ่าตัดจมูกโดยการส่องกล้อง เช่นการผ่าตัดริดสีดวงในจมูก หรือ ก้อนต่างๆในจมูก

การรักษาโดยการผ่าตัดในช่องปาก ได้แก่

  1. การจี้เพดานอ่อนหรือโคนลิ้นโดยคลื่นวิทยุ [Radiofrequency] เพื่อทำให้เพดานอ่อนไม่หดตัวและโคนลิ้นเล็กลง เพิ่มพื้นที่ในช่องปาก
  2. การฝังอุปกรณ์ที่เพดานอ่อน [Palatal implant]
  3. การผ่าตัดทอนซิลและ/หรือ การผ่าตัดต่อมอดีนอย์ [Tonsillectomy / adenotonsillectomy]ในผู้ป่วยที่มีขนาดทอนซิลใหญ่หรือ ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งพบว่าได้ผลดีมากในเด็ก
  4. การผ่าตัดทอนซิลร่วมกับการตกแต่งเพดานอ่อน [UPPP]

การรักษาโดยการผ่าตัดในลำคอได้แก่ ที่ก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น ก้อนเนื้องอก หรือ ซีสต์ ต่างๆ

นอกจากนี้แล้วยังมีการผ่าตัดปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกใบหน้าและการผ่าตัดอื่นๆ อีกหลายอย่างเพื่อช่วยทำให้ช่องทางเดินหายใจขยาย ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับการประมินทางเดินหายใจ หรือ การผ่าตัดเพื่อการรักษาภาวะนอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะหลับสามารถรับคำปรึกษาได้ที่ แผนก หู คอ จมูก รพ กรุงเทพพัทยา

พญ.อภิรดี สุขขารมย์

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง