Skip to content

ชุดปฐมพยาบาล สิ่งจำเป็นยามเดินทาง !!!!

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

ชุดปฐมพยาบาล(First aid kit) คือ อุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นสิ่งจำเป็นยามเดินทาง เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ดังนั้นการเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยชุดปฐมพยาบาลควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิทหรืออุปกรณ์ที่กันน้ำ และอาจติดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆ ไว้ด้วย นอกจากนี้อาจจดข้อมูลทางการแพทย์ของคนในครอบครัว เช่น หมู่เลือด ยาที่แพ้ และโรคประจำตัว

โดยสิ่งที่บรรจุอยู่ในชุดปฐมพยาบาล ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ทำแผล และยารักษาโรคเบื้องต้น อาทิ

  • ถุงมือ- สำหรับผู้ช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสถูกเลือด อาเจียน สารคัดหลั่งต่างๆ
  • ยาล้างแผล เช่น แอลกอฮอล์ ยาฆ่าเชื้อ
  • ผ้าทำแผล (ผ้าก๊อซ) ขนาดต่างๆ โดยหากแผลมีเลือดออกมากให้ปิดทับหลายๆแผ่นเพื่อห้ามลือด
  • พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่างๆใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว
  • กรรไกร ใช้ตัดผ้าก็อซหรือตัดผ้าหรือขากางเกงเช่น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • เทปติดแผล
  • ผ้าปิดตาใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น กระจกตาถูกบาด ฝุ่นละอองเข้าตา เป็นต้น
  • เข็มกลัด ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้าคล้องคอ ผ้ายืด
  • สำลี ไม้พันสำลี ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบๆ แผล
  • ผ้ายืด(อีลาสติกแบนเอด) ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ เพื่อลดการบวม ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดามกระดูก ผ้ายืดยังสามารถนำมาพันทับผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ติดแผลเพื่อห้ามเลือด แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไปเพราะทำให้อวัยวะส่วนปลายเกิดการบวมและขาดเลือดมาเลี้ยงได้
  • ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน ปัจจุบันใช้ผ้าคล้องแขนแทนเพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
  • ถุงพลาสติก 1ใบ สำหรับใส่เศษขยะ เช่น ผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น

ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน โดยกล่องบรรจุยานี้ต้องปิดมิดชิด และ มีข้อความระบุข้างกล่องชัดเจนว่า เป็นยาสำหรับรับประทาน ควรมียาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อาทิยาลดไข้แก้ปวดผงเกลือแร่สำหรับการบาดเจ็บที่มีการเสียเลือดมาก หรือบาดแผลพุพองจากความร้อนที่มีบริเวณกว้าง หรือผู้ที่มีอาการอาเจียนและท้องเสียA

นอกจากนี้อาจมียาหรืออุปกรณ์อื่นๆ ตามความจำเป็น ทั้งนี้หากพบผู้บาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ ก่อนอื่นจะต้องตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ จากนั้นหากผู้ป่วยมีเลือดออกมากให้ปฐมพยาบาลโดยการห้ามเลือด โดยใช้ผ้าปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุดแต่อย่ากดจนซีดเขียว สำหรับภาวะเลือดออกภายในการห้ามเลือดอาจทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลย แต่สามารถช่วยปฐมพยาบาลเพื่อลดความรุนแรงได้คือให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบายที่สุด ปลอบใจให้ผู้ป่วยไม่ตื่นเต้นตกใจและสงบจะทำให้เลือดออกน้อยลง ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก จนกว่าแพทย์จะอนุญาต และหากไอเป็นเลือด ให้ผู้ป่วยพยายามไอเบาๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลงนอกจากนี้หากกระดูกหักและจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายจริงๆ ให้ดามกระดูกก่อน โดยอาจใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวเช่นกระดาษแข็งหนาๆ หรือไม้นำมามัดดามไว้ด้วยเชือกหรือผ้าพันแผลบริเวณที่กระดูกหักเพื่อลดการขยับ

ขอขอบคุณ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง