Skip to content

โรคหลอดเลือดหัวใจคืออะไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมัน เส้นเลือดจึงต้องทำงานหนัก เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจให้ได้เพียงพอ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจจะรวมถึง

  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่
  • ปวดแน่นหน้าอก
  • ปวดขากรรไกร ปวดร้าวไปที่แขน
  • ปวดแสบปวดร้อนตรงลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เหงื่อออกมาก
  • หมดสติ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคนี้?

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น
  • อายุ
  • เพศชาย หรือหญิงในวัยหมดประจำเดือน
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

แต่ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรหันมาใส่ใจและปรับเปลี่ยน

 ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ เช่น
  • โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการสูบฉีดเลือด แรงดันเลือดสูงจะทำลายหลอดเลือดโดยตรง ทำให้รอยโรคก่อตัวง่ายขึ้น
  • โรคเบาหวาน เบาหวานเกิดจากการสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเนื้อเยื่อไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนไปทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาท
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดการตีบของหลอดเลือด
  • การไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่ไม่ทำกิจกรรมหรือไม่ออกกำลังกายจะส่งเสริมให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น
  • ภาวะอ้วน คนที่มีไขมันเกิน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วยก็ตาม

 การวินิจฉัยและรักษา

  1. วิธีวินิจฉัย โรคหลอดเลือดหัวใจ
  2. มีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง?
  3. แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเข้ารับการรักษา
  4. ความก้าวหน้าในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
  5. โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้
  6. ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน จากการทำหัตถการขยายหลอดเลือด
  7. ยาที่ใช้หลังการทำหัตถการขยายหลอดเลือด
  8. การปรับพฤติกรรมและวิถีการใช้ชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง