fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

มีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง?

หากการรับประทานยาและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไม่สามารถหยุดยั้งเส้นเลือดตีบ จนถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการทำหัตถการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

การผ่าตัดต่อเส้นเลือด (Coronary Bypass Surgery) การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (Angioplasty), การใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด (Coronary Artery Stent), การใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยา (Drug Eluting Stent), และการใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้ (Bioresorbable Vascular Scaffold)

การผ่าตัดต่อเส้นเลือด (Coronary Bypass Surgery) เป็นการทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง โดยการเชื่อมต่อเส้นเลือดมายังบริเวณที่ตีบหรืออุดตัน อาจใช้เส้นเลือดจากหน้าอก (Thoracic), ขา (Saphenous), หรือแขน (Radial)

การผ่าตัดบายพาสเป็นการเชื่อมต่อเส้นเลือดหัวใจ เพื่อสร้างเส้นทางเดินเลือดใหม่ให้ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตัน บ่อยครั้งที่เส้นเลือดแดงที่ตีบจะถูกตัดต่อหลายจุดในเวลาเดียวกัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจที่ทำบายพาสจะรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณหนึ่งสัปดาห์ และกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่ออีกระยะหนึ่ง

การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนผ่านทางการเจาะที่ผิวหนัง ที่ขาหรือแขน (บางครั้งเรียกว่าการทำ PTCA ย่อจาก Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty)              

  • ใส่สายสวนหัวใจที่มีบอลลูนติดตรงส่วนปลายเข้าไปบริเวณรอยโรค                                                        
  • โป่งขยายบอลลูนไปกดทับรอยโรคให้แนบชิดผนังหลอดเลือด การถ่างขยายเส้นเลือดที่ตีบ จะเปิดทางให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอ                                                                                
  • หุบบอลลูน และถอดสายสวนหัวใจออก

การใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด (Coronary Artery Stent) วิธีการทำเหมือนกับการถ่างขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน โดยการสอดสายสวนหัวใจเข้าไปบริเวณรอยโรคที่ปลายสายสวน มีบอลลูนและท่อถ่างขยายติดอยู่ ซึ่งท่อถ่างขยายหลอดเลือดมีขนาดเล็ก ทำจากหลอดโลหะจะถูกฝังไว้ตรงรอยโรคเพื่อถ่างขยายและค้ำยันหลอดเลือดไว้

การใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดเคลือบยา (Drug Eluting Stent) เป็นขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดที่เคลือบยาไว้ ซึ่งยาจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อตรงรอยโรค และลดความจำเป็นในการทำหัตถการซ้ำเนื่องจากหลอดเลือดกลับมาตีบซ้ำ ยาที่เคลือบไว้จะค่อยๆ ละลายออกมารักษาตรงรอยโรค ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยาบางชนิด อาจเคลือบด้วยวัสดุที่สลายตัวได้ ส่วนที่ใช้เคลือบนี้จะสลายไปตามเวลา แต่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดจะยังคงอยู่ตลอดไป

การใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้ (Bioresorbable Vascular Scaffold) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ มีลักษณะเหมือนกับขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยา แต่สามารถสลายตัวได้อย่างช้าๆ โดยโครงสร้างของท่อถ่างขยายหลอดเลือดจะสลายหมดไปในเวลา 2-3 ปี ทำให้หลอดเลือดกลับคืนสภาพธรรมชาติ และสามารถทำงานได้ดังเดิม

 

รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

Heart Center : Transcatheter Aortic Valve Implantation (TAVI)