Skip to content

รู้จักอาการนอนไม่หลับ

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

นอนไม่หลับ ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ สภาพร่างกาย และสุขภาพ โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นก็สดชื่น พร้อมที่จะทำงานและไม่ต้องการนอนพักผ่อนตอนกลางวันอีก อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะต้องการเวลานอนน้อยหรือมากกว่านั้น การนอนไม่หลับไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะ หรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เครียด หรือไม่สบายใจ ความผิดปกติทางกายหรือจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น การแปลกสถานที่ เป็นต้น บางคนสงสัยว่าเมื่อใดจึงจะเรียกว่า มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ โดยทั่วไปมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่า เมื่อรู้สึกว่านอนไม่หลับ หลับไม่สนิทหรือหลับไม่พอเป็นเวลา 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน และรู้สึกวิตกกังวลต่ออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับหน้าที่การทำงานที่แย่ลง ก็จะถือว่านอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

ลักษณะอาการที่พบร่วมกับอาการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับมักพบร่วมกับอาการของความเครียด ความไม่สบายใจ และเมื่อเริ่มนอนไม่หลับ เราก็มักจะเริ่มรู้สึกกลัวการนอนไม่หลับ หมกมุ่นเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ พยายามบังคับให้ตนเองนอนให้หลับ โดยปกติการนอนเป็นธรรมชาติบังคับไม่ได้ ทำให้การนอนในคืนถัดไปแย่ลงจากความกังวลของเราเอง เกิดเป็นวงจรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้บางครั้งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับจะหมดไปแล้วก็ตาม

การที่มาพบแพทย์เร็วจะทำให้พบสาเหตุโดยเร็ว การรักษาจะง่ายขึ้นถ้าปล่อยให้เป็นมาก การรักษาจะยากขึ้น หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีโรคใดๆ ก็ตาม ก็จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ถูกต้อง ทำให้ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้

ชนิดของการนอนไม่หลับ

• หลับยาก พวกนี้จะหลับได้ อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง
• หลับไม่ทน พวกนี้หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่นบางคนอาจไม่หลับอีกตลอดคืน
• หลับๆ ตื่นๆ พวกนี้อาจจะมีความรู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้มๆ ไปเป็นพักๆ

ปัญหานอนไม่หลับอาจทำให้อ่อนเพลีย และเกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719

ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง