Skip to content

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน พบมากเป็นอันดับ 1 ของโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า แข็งเกร็ง มีปัญหาการทรงตัว และเดินลำบาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีอาการที่หลากหลาย ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการตรวจและรักษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากขึ้น

ลักษณะอาการมีทั้งอาการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้

Parkinson symptom1

1. อาการเคลื่อนไหวช้า

เป็นอาการที่ผู้ป่วยใช้ระยะเวลานานในการเริ่มต้นเคลื่อนไหว และเมื่อเริ่มเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวจะค่อยๆช้าลง มีการหยุดชะงักระหว่างการเคลื่อนไหว เช่น เขียนหนังสือตัวเล็กลง การแกว่งแขนลดลง กระพริบตาน้อยลง เมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ปี อาการเคลื่อนไหวช้าจะเริ่มที่กลางลำตัวส่งผลให้การเดินช้าลง

Parkinson symptom2

2. อาการสั่น

เป็นอาการที่เห็นได้เด่นชัดถึงประมาณร้อยละ 70 แต่อาการสั่นนั้นไม่จำเป็นต้องพบในผู้ป่วยทุกราย โดยส่วนใหญ่อาการสั่นมักเริ่มที่มือ โดยเฉพาะที่ปลายนิ้ว อาการสั่นแบบพาร์กินสันโดยส่วนใหญ่จะเกิดขณะที่มือนั้นอยู่เฉย เช่น ขณะนั่งดูทีวี

Parkinson symptom3

3. อาการแข็งเกร็ง

เป็นอาการที่ผู้ป่วยมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ปวดตามกล้ามเนื้อ ซึ่งเริ่มที่แขนหรือขาด้านเดียวกัน กับด้านที่ มีอาการสั่น อาการนี้มักจะเป็นอาการที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวลำบากในผู้ป่วยมากที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ช้า เช่น เดินไปห้องน้ำไม่ทัน ลุกขึ้นยืนได้ยาก หยิบจับลำบาก เขียนหนังสือไม่ถนัด

Parkinson symptom4

4. ปัญหาการทรงตัว

ปัญหาของการทรงตัวมักเริ่มเกิด 2-5 ปีหลังจากเริ่มมีอาการของโรคพาร์กินสัน โดยผู้ป่วยอาจทรงตัวไม่ดีมีอาการล้มบ่อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลักษณะการแกว่งแขนที่ลดลง การเดินที่ซอยเท้าถี่ หรือมีการเดินที่ร่วมกับอาการโน้มตัวไปด้านหน้า เวลาผู้ป่วยกลับตัวเดินมักจะกลับทั้งตัวไปพร้อมกัน ร่วมกับซอยเท้าถี่ๆ หรือพบมีการเดินย่ำเท้าอยู่กับที่ เหมือนกับเท้าติดอยู่กับพื้น

ปัญหาการเดินในลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันหกล้มง่าย

แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสัน

  • ควรเริ่มรับการรักษาโรคพาร์กินสันเมื่อไหร่ เริ่มรับประทานยาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากมีการศึกษาว่าเริ่มรับประทานยาเร็วทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ยาที่ใช้ในการรักษา มีอะไรบ้าง ยาเลโวโดปา ,ยากลุ่มออกฤทธิ์เสริมโดปามีน มยาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ,ยากลุ่มต้านโคลิเวอร์จิก ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่พิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการชะลอการดำเนินของโรคอย่างชัดเจน แต่สามารถทำให้อากรของผู้ป่วยดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่ไม่รักษาอย่างชัดเจน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
  • การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นการซักประวัติและตรวจร่างกายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

PiyanatWongwan n click

นัดหมายแพทย์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายแพทย์ปิยะณัฐ วงศ์วรรณ
ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา ปรึกษาด่วนที่ LINE: BPH Brain

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง