Skip to content

การอยู่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างเข้าใจ

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆของสมาชิกในบ้านโดยเฉพาะโรคที่มีความรุนแรง ทำให้กระทบจิตใจผู้ป่วยอย่างฉับพลัน เช่นโรคมะเร็ง การที่ได้ดูแลผู้ป่วยระยะหนึ่งแล้วมาหมดกำลังใจเมื่อผู้ป่วยแสดงกริยาเกรี้ยวกราด บางครั้งใช้ความหงุดหงิดสาดใส่กัน เหนื่อยกายไม่พอยังต้องเหนื่อยใจตามมาอีก

การรับรู้ว่าตนเองเป็นโรคร้าย บางรายอาจช็อคไม่พูดไม่จา  เงียบเฉย ปฏิเสธว่าไม่ใช่ไม่เป็น เราก็ดูแลตัวเองมาดีแล้ว เชื่อว่าหมอวินิจฉัยผิด ไปตรวจกับอีกหลายโรงพยาบาล ทำให้ใช้เวลาเป็นเดือนๆ กว่าจะมาตั้งหลักรักษา บางครั้งญาติอาจมีอาการมากกว่าผู้ป่วย ซึ่งจริง ๆ แล้วการรับรู้ข่าวร้ายในผู้ป่วยมีกลไกการปรับตัว 6 ระยะคือ ระยะช็อค  ระยะปฏิเสธ  ระยะโกรธ  ระยะต่อรอง  ระยะซึมเศร้า และ ระยะยอม รับความจริง ผู้ป่วยบางรายอาจมีครบทั้ง 6 ระยะ บางรายอาจเริ่มข้อใดข้อหนึ่งก่อนโดยไม่ครบ 6 ระยะก็ได้ ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจอารมณ์จิตใจของผู้ป่วยที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่าปล่อยให้เนิ่นนานเพราะว่าใครตั้งหลักได้เร็วก็เป็นกำไรจะได้รับการรักษาก่อนที่โรคจะลุกลามไป

ผู้ดูแลเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากต้องมีสติมั่นคงให้กับผู้ป่วยทุกเมื่อ ผู้ดูแลต้องสละเวลา   ความเป็นส่วนตัวเพื่อช่วยผู้ป่วย ดังนั้นร่างกายและจิตใจต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา ในระยะยาวถ้าเป็นไปได้ต้องมีผู้ช่วยคอยสลับผลัดเปลี่ยน อย่าให้ความรับผิดชอบอยู่กับคนใดคนหนึ่งมากเกินไป   พี่น้อง  ลูกหลานต้องจัดเวลาสลับสับเปลี่ยนช่วยเหลือด้านต่างๆ แสดงถึงความรัก ห่วงใย ความเอาใจใส่ กำลังใจจากครอบครัว ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด  จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ..

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งจะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อผู้ดูแลได้เรียนรู้และหันกลับมาดูแล ป้องกันตัวเอง และคนที่คุณรักให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง ….

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์มะเร็ง รพ.กรุงเทพพัทยา  ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา  08.00 – 17.00 น.

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง