Skip to content

กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง

กิจกรรมบำบัดมุ่งเน้นการให้การดูแลผู้ป่วยแบบรอบด้าน ทั้งความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการสื่อสาร ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลการกระตุ้นย้อนกลับไปที่ระบบสมองและเส้นประสาท รวมทั้งฝึกฝนทำกิจวัตรประจำวัน (Activity daily living) ช่วยในการปรับสภาพแวดล้อม พัฒนาอุปกรณ์เสริม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยการใช้เทคนิคเฉพาะทางของนักกิจกรรมบำบัดที่มีใบประกอบวิชาชีพ และมีประสบการณ์อย่างมืออาชีพ ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

โปรแกรมกระตุ้นและฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือ (Hand function training program) ส่งเสริมความสามารถของกล้ามเนื้อมือมัดเล็กที่ทำงานบกพร่องไปจากภาวะโรค ให้กลับมาทำงานได้ ฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว สหสัมพันธ์และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ มีเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นการใช้งานแขนและมือตามรูปแบบการหยิบจับที่หลากหลายด้วย Biometrics E-LINK

โปรแกรมประเมินและบำบัดภาวะการกลืนลำบาก (Swallowing screening test and training program) ในผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบาก กล้ามเนื้อ มีเครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน เช่น เครื่อง Vital stim

โปรแกรมการตรวจประเมินและบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องในการรับรู้ ความจำ สมาธิ ความคิดและการตัดสินใจแก้ปัญหา (Perceptual-cognitive test and training program) โดยให้การประเมิน และให้การบำบัดรักษาผ่านทางการจัดกิจกรรมที่ถูกออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับปัญหาของแต่ละบุคคล อาทิเช่น กิจกรรมฝึกฝนฟื้นฟูความจำ ความคิดและการตัดสินใจ สอนเทคนิคการทดแทน (Compensatory approaches) ผ่านทางประยุกต์กิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำในการทำกิจวัตรประจำวัน

โปรแกรมเพื่อการฟื้นฟูด้านการสื่อความหมาย (Pre- speech training) ไม่ว่าจะมีความผิดปกติของภาษาที่นึกคิดคำพูดไม่ได้ หรือฟังคำพูดไม่เข้าใจ บางรายอาจมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยเช่นพูดไม่ชัดหรือนึกคิดคำพูดลำบากแม้จะป็นคำที่ใช้บ่อย ซึ่งทีมจะทำการประเมินและวางแผนการสื่อความหมายโดยการฝึกการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด Cognitive communication training รวมถึงการพิจารณาการใช้รูปแบบการสื่อสารอื่นแทนการพูด เช่น Communication board

การฝึกฝนทักษะในการทำกิจวัตรประจำวัน (Activities for Daily Living training) โดยประเมินและให้คำแนะนำเทคนิคการปรับรูปแบบการทำกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้ป่วยให้ง่ายขึ้น รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือและจับประคองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเพื่อส่งเสริมผู้ป่วยให้สามารถทำกิจกรรมนั้นๆได้สำเร็จ ส่งผลต่อจิตใจและการมองเห็นคุณค่าของตนเอง อีกทั้งยังแนะนำการดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย โดยการจำลองห้องตัวอย่างและการดัดแปลงอุปกรณ์หรือจัดทำอุปกรณ์เสริม ในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น ช้อน-ส้อม แปรงฟันเสริมด้าม เพื่อการฝึกฝนเรียนรู้ และวางแผนก่อนออกจากโรงพยาบาล

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง