Skip to content

เข้าหน้าร้อนทีไร มักปรากฏข่าว “เด็กจมน้ำเสียชีวิต” บนหน้าหนังสือพิมพ์

ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนนั้น เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เด็กชักชวนกันลงเล่นน้ำ เหตุนี้สถิติในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ 2546-2556  จึงพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมมีจำนวนมากที่สุด เฉลี่ยวันละ 4 คน  เมื่อดูจากสถิติพบว่าจำนวนเด็กที่เสียชีวิตด้วยการจมน้ำมีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมหน้าร้อนที่เด็กๆมักรวมกลุ่มกับเพื่อนไปเล่นและทำกิจกรรมยามว่างกัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม มีอัตราการตายของเด็กจมน้ำสูงที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอม การว่ายน้ำเป็นทักษะชีวิตหนึ่งของเด็ก แม้เด็กไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ แต่ต้องมีการสอนว่ายน้ำแก่เด็กด้วย เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น ต้องเดินทาง ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องเจอะเจอกับน้ำ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางน้ำได้

นอกจากนี้ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันหาวิธีการป้องกัน ร่วมกันสร้างเครือข่ายทีมงานเพื่อเสริมแหล่งองค์ความรู้ เพื่อนำไปสอนเด็กๆ ให้มีความรู้พื้นฐานเป็นภูมิคุ้มกัน และเป็นกุศลในภายภาคหน้าสำหรับได้ช่วยเหลือเด็กๆ ได้ต่อไป ให้เอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด และลดการตายของเด็กๆ ได้

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ  ร่วมกับ  ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก จัดโครงการรณรงค์เพื่อการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำสำหรับเด็กประถม 1 หรืออายุ 7 ปี ว่า มียุทธศาสตร์ของทักษะชีวิต ความปลอดภัยทางน้ำว่า มีด้วยกัน 5 ข้อ เรียกว่า “โครงการ 3 นาที 15 เมตร” ประกอบด้วย

1.การรู้จุดเสี่ยง

2.การลอยตัวให้ได้ 3 นาที

3.การว่ายจากท่าลอยตัวเพื่อเข้าเกาะขอบฝั่งให้ได้ 15 เมตร

4.การช่วยเหลือผู้อื่นโดย การตะโกน โยน ยื่น และ

“ทุกช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน จะมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุด การฝึกว่ายน้ำให้กับเด็กจะช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางน้ำได้ “

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง