Skip to content

ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 2 คน

หน้าแรก  >  บทความเกี่ยวกับสุขภาพ

herindoors

ข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยประมาณปีละ 37,000 ราย เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าที่อื่น ประมาณ 4-6 เท่

ลักษณะอาการ

อาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอกที่รุนแรง มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม สะบักหลังหรือแขนซ้าย จุกคอหอย บางรายมาด้วยอาการจุกใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ถ้ามีอาการดังกล่าวให้ท่านไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

การตรวจและวินิจฉัยโรค

1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ต้องทำในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็ว หากพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แพทย์จะได้ตัดสินใจให้การรักษาที่เหมาะสม เช่น การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการสวนหลอดเลือดหัวใจ

2. การขยายหลอดเลือดด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือวิธีขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูนใส่ขดลวดค้ำยัน ต้องทำภายในเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงหลังมีอาการ การเปิดหลอดเลือดได้สำเร็จนั้นได้ผลดีมากถ้าให้ยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังมีอาการ หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและตามด้วยการใส่ขดลวดค้ำยัน ภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังมีอาการ จะได้ผลการรักษาที่ดีมาก

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • การสูบบุหรี่
  • ความเครียด
  • โรคอ้วนลงพุงและกรรมพันธุ์

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ รวมทั้งการป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจครบทุกสาขาประกอบด้วย อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์โรคหัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ รังสีแพทย์โรคหัวใจ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจและการออกกำลังก

โดยเฉพาะผุ้ป่วยโรคหัวใจในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ช็อก จำเป็นต้องได้รับยาและการรักษาด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและการขยายหลอดเลือด

ห้องสวนหัวใจ (Catheterization Unit) หรือ Cath Lab ให้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเกิดภาวะความผิดปกติของหลอดเลือด โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอด 24 ชั่วโมง

หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ (Cardiac Care Unit/CCU)

สถานที่พักฟื้นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยที่ทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือขดเลือด และผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ อีกทั้งมีความพร้อมสูงทั้งในด้านเครื่องมือที่ทันสมัยโดยมีแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจให้การดูแลผู้ป่วยประจำตลอด 24 ชั่วโมง

Chest Pain Pathway

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยามีระบบ Chest Pain Pathway ซึ่งเป็นทางด่วนสำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกให้ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง

แชร์ :

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง